โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพาราภายใต้แนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบ



“โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพาราภายใต้แนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบ
                              



โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา ภายใต้แนวทางพัฒนา
ยางพาราทั้งระบบ วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท

1. วัตถุประสงค์โครงการ
               
1.1 เพื่อสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการลงทุนแก่สถาบันเกษตรกร นำไปใช้ในการขยายกำลังการผลิต/ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานแปรรูปยางที่จัดสร้างไว้แล้ว และ/หรือลงทุนจัดสร้างโรงงานใหม่ในการแปรรูปยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า
                1.2 เพื่อสนับสนุนสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรในการแปรรูปยางพารา
                1.3 เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ในกระบวนการสหกรณ์

2. คุณสมบัติของผู้กู้
                2.1 กรณีสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร
                  1)  เป็นสถาบันเกษตรกรที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้รวมถึงกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2547 และผู้กู้ต้องมีลักษณะตามข้อบังคับธนาคารฉบับที่ 20 26 และ 31 ต้องไม่มีการทุจริตหรือข้อบกพร่องในการดำเนินงานที่เป็นสาระสำคัญ หรือถ้ามี สถาบันเกษตรกรต้องดำเนินการแก้ไขจนเป็นที่พอใจของธนาคารแล้ว(ข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำคัญ ได้แก่ ทุจริต ปิดบัญชีไม่ได้ภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นสุดบัญชีโดยเกิดจากข้อบกพร่องของสถาบันเกษตรกรเอง ขาดทุนสะสมเกินกว่า 3 ปีบัญชี ขาดทุนเกินกึ่งหนึ่งของทุนเรือนหุ้นมีบัญชีเจ้าหนี้เงินกู้มากกว่าลูกหนี้เงินกู้ มีผลการดำเนินงานขาดทุนติดต่อกัน 3 ปี
                2) 
ปัจจุบันสถาบันเกษตรกรยังดำเนินธุรกิจแปรรูปยางอย่างต่อเนื่อง                         
               
3)  มีทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินงาน ตลอดจนมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น โรงงานแปรรูปยางแท่ง โรงงานยางแผ่นรมควัน ยางอัดก้อน โรงงานยางคอมปาวด์ โรงงานน้ำยางข้น โรงงานยางเครป โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางสำเร็จรูป มีอาคารสถานที่สำหรับเก็บรักษาผลิตผลการเกษตรที่เหมาะสม มั่นคง แข็งแรง ฯลฯ
               
4)  คณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายจัดการ และเจ้าหน้าที่ของสถาบันเกษตรกรให้ความร่วมมือกับธนาคารด้วยดีเสมอมา
               
5)  สถาบันเกษตรกรต้องไม่มีหนี้เงินกู้ค้างชำระกับธนาคาร
               
2.2  กรณีวิสาหกิจชุมชน
                                1)  เป็นวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2547 และผู้กู้ต้องมีลักษณะตามข้อบังคับธนาคารฉบับที่ 45  กรณีวิสาหกิจอื่นที่ทำธุรกิจยางพาราต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และต้องมีลักษณะตามข้อบังคับธนาคารฉบับที่ 45
                                2)  ปัจจุบันยังดำเนินธุรกิจแปรรูปยางอย่างต่อเนื่อง                       
                                3
)  มีทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินงาน ตลอดจนมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ เหมาะสมกับธุรกิจ
                                4)  คณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายจัดการ และเจ้าหน้าที่ของวิสาหกิจชุมชนและองค์กรวิสาหกิจอื่นที่ทำธุรกิจยางพาราให้ความร่วมมือกับธนาคารด้วยดีเสมอมา
                                5)  วิสาหกิจชุมชน องค์กรวิสาหกิจที่ทำธุรกิจยางพาราต้องไม่มีหนี้เงินกู้ค้างชำระกับธนาคาร

3. วัตถุประสงค์การกู้เงิน

                สำหรับสหกรณ์ภาคการเกษตร กลุ่มเกษตรกร  และวิสาหกิจชุมชน
               
1) วัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าลงทุนนำไปใช้ในการขยายกำลังการผลิต/เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานแปรรูปยางที่จัดสร้างไว้แล้ว และ/หรือลงทุนจัดสร้างโรงงานใหม่ในเพิ่มมูลค่า วงเงินสินเชื่อ 3,500 ล้านบาท
               
2) วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมและรับซื้อวัตถุดิบป้อนโรงงาน  วงเงินสินเชื่อ 1,500 ล้านบาท               
                ทั้งนี้ สหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรที่กู้เงินตามข้อบังคับฉบับที่
26 เพื่อเป็นค่าลงทุน  และการกู้เงินตามข้อบังคับฉบับที่ 20 ข้อ 4(2) และข้อบังคับฉบับที่ 31 ข้อ 2(3)  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่กู้เงินตามข้อบังคับฉบับที่ 45

4. อัตราดอกเบี้ย
                4.1  สินเชื่อเพื่อเป็นค่าลงทุน  วงเงินสินเชื่อ 3,500 ล้านบาท
                                1) กรณีสหกรณ์ภาคการเกษตร  ในช่วงโครงการฯ ตั้งแต่ 1 กันยายน 2557 – 31 สิงหาคม 2567
กำหนดอัตราดอกเบี้ย
MLR – 1.50 ต่อปี (ปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 5.00 ต่อปี) คิดดอกเบี้ยจากสหกรณ์ภาคการเกษตรในอัตราร้อยละ 0.50 ต่อปี รัฐบาลชดเชยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 และกองทุนพัฒนาสหกรณ์สนับสนุนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สหกรณ์ภาคการเกษตรร้อยละ 0.49 ต่อปี
                               
2) กรณีกลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน  ในช่วงโครงการฯ ตั้งแต่ 1 กันยายน 2557 – 31 สิงหาคม 2567กำหนดอัตราดอกเบี้ย MLR – 1.50 ต่อปี (ปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 5.00 ต่อปี) คิดดอกเบี้ยจากกลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี รัฐบาลชดเชยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.49
                4.2  สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน วงเงินสินเชื่อ 1,500 ล้านบาท
                               
1) กรณีสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร  ในช่วงโครงการฯ ตั้งแต่ 1 กันยายน 2557 – 31 สิงหาคม 2562 คิดดอกเบี้ยจากสถาบันเกษตรกรในอัตราร้อยละ 1 รัฐบาลชดเชยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.49
                                2) กรณีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  ในช่วงโครงการฯ ตั้งแต่ 1 กันยายน 2558 – 31 สิงหาคม 2562 คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 1.00 ต่อปี รัฐบาลชดเชยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.49 ต่อปี

5. Market Code  ผลิตภัณฑ์   

               
5.1 สินเชื่อเพื่อเป็นค่าลงทุน
                               
Market Code  1824 : สหกรณ์ภาคการเกษตร
                               
Market Code  2059 : กลุ่มเกษตรกร
                               
Market Code  2060 : วิสาหกิจชุมชน
               
5.2 สินเชื่อเพื่อเป็นทุนหมุนเวียน  Market Code 1825 : สหกรณ์ภาคการเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน

6. วงเงินกู้ขั้นสูง

                6.1 กรณีสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร
                                วงเงินกู้ตามโครงการฯนี้ให้พิจารณาแยกวงเงินต่างหากจากวงเงินกู้ปกติของสถาบันเกษตรกรและเมื่อรวมกับวงเงินกู้อื่นตามสัญญากู้เงินเดิมในวัตถุประสงค์การใช้เงินกู้เดียวกันทั้งหมดและวงเงินกู้ตามข้อบังคับฉบับอื่นหรือเจ้าหนี้เงินกู้อื่นหรือเงินรับฝากจากสหกรณ์อื่นและบุคคลภายนอกแล้ว ต้องไม่เกินวงเงินกู้ยืมหรือค้ำประกันประจำปีที่นายทะเบียนสหกรณ์
เห็นชอบปีล่าสุด
               
6.2 กรณีวิสาหกิจชุมชน
                                วงเงินกู้ตามโครงการฯนี้ให้พิจารณาแยกวงเงินต่างหากจากวงเงินกู้ปกติของวิสาหกิจชุมชนและองค์กรวิสาหกิจอื่นที่ทำธุรกิจยางพารา และเมื่อรวมกับวงเงินกู้อื่นตามสัญญากู้เงินเดิมต้องไม่เกิน 20 เท่าแห่งทุนตนเองตามข้อบังคับฉบับที่ 45

7. ระยะเวลาชำระหนี้เงินกู้

                7.1 กรณีสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร
                                1) เพื่อเป็นค่าลงทุน กำหนดชำระไม่เกิน 10 งวด ปลอดชำระต้นเงินกู้ได้ไม่เกิน 2 งวด คือ งวดที่ 1 และงวดที่ 2 แต่ต้องส่งชำระดอกเบี้ยเงินกู้ทุกปี
                                                - ช่วงระยะปีที 1 ถึงปีที่ 2 สถาบันเกษตรกรจะปลอดชำระต้นเงินกู้ แต่ต้องชำระดอกเบี้ย
เงินกู้ทุกปี
                                                - ปีที่ 3–4 สถาบันเกษตรกรต้องชำระคืนต้นเงินกู้ปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของต้นเงินกู้ยืม
                                                - ปีที่ 5–6 สถาบันเกษตรกรต้องชำระคืนต้นเงินกู้ปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของต้นเงินกู้ยืม
                                                - ปีที่ 7–8 สถาบันเกษตรกรต้องชำระคืนต้นเงินกู้ปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของต้นเงินกู้ยืม
                                                - ปีที่ 9–10 สถาบันเกษตรกรต้องชำระคืนต้นเงินกู้ปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของต้นเงินกู้ยืม
                                2) เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน กำหนดให้ผู้กู้ต้องชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเงินกู้แต่ละรายให้เสร็จสิ้นไม่เกิน 12 เดือน นับตั้งแต่วันเบิกรับเงินกู้ แต่ทั้งนี้ต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม 2562

               
7.2 กรณีวิสาหกิจชุมชน
                                1) เพื่อเป็นค่าลงทุนกำหนดชำระไม่เกิน 9 งวด  ดังนี้
                                                - ช่วงระยะปีที 1 ถึงปีที่ 2 ผู้กู้จะปลอดชำระต้นเงินกู้ แต่ต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้ทุกปี
                                                - ปีที่ 3–4 ผู้กู้ต้องชำระคืนต้นเงินกู้ปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของต้นเงินกู้ยืม
                                                - ปีที่ 5–6 ผู้กู้ต้องชำระคืนต้นเงินกู้ปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของต้นเงินกู้ยืม
                                                - ปีที่ 7–8 ผู้กู้ต้องชำระคืนต้นเงินกู้ปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของต้นเงินกู้ยืม
                                                - ปีที่ 9 ผู้กู้ต้องชำระคืนต้นเงินกู้ร้อยละ 40 ของต้นเงินกู้ยืม
                                2) เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน กำหนดให้ผู้กู้ต้องชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเงินกู้แต่ละรายให้เสร็จสิ้นไม่เกิน 12 เดือน นับตั้งแต่วันเบิกรับเงินกู้ แต่ทั้งนี้ต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นไม่เกินวันที่ 31สิงหาคม 2562

8. หลักประกันเงินกู้

               
8.1 กรณีสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร
                                1. การกู้เงินตามข้อบังคับฉบับที่ 26 ข้อ 13 หลักประกันเงินกู้ ผู้กู้ต้องปฏิบัติดังนี้
                                บรรดาอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ตามกฎหมาย ซึ่งผู้กู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยใช้เงินกู้ตามข้อบังคับนี้ ให้ผู้กู้จำนองแก่ธนาคารเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้จากธนาคารทั้งสิ้น การจำนองดังกล่าวต้องเป็นการจำนองลำดับแรก
ทั้งนี้ ผู้กู้ต้องจัดให้เสร็จภายในเวลาที่ผู้จัดการกำหนด                              
                                2. การกู้เงินตามข้อบังคับฉบับที่ 20 ข้อ 4(2) หรือ ข้อบังคับฉบับที่ 31 ข้อ 2(3)                           
                                                2.1) มีอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้จำนองต่อเจ้าหนี้อื่น
     
                                          2.2) มีผลิตผลการเกษตรมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้เงินกู้แก่ธนาคาร โดยจำนวนเงินกู้ในเวลาใดก็ตามต้องไม่เกินร้อยละแปดสิบแห่งราคาประเมินของผลิตผลที่นำมาเป็นหลักประกัน
                                3. มีหลักประกันอื่นตามที่ผู้จัดการธนาคารกำหนดเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้
เช่น พันธบัตรรัฐบาล เงินฝาก เครื่องจักร ฯลฯในกรณีที่สถาบันเกษตรกรผู้กู้ไม่สามารถจัดให้มีหลักประกันตาม (1 – 3) ได้ ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติเงินกู้มีอำนาจผ่อนผันให้สถาบันเกษตรกรผู้กู้ไม่ต้องมีหลักประกัน แต่ต้องให้คณะกรรมการดำเนินการและผู้จัดการของสถาบันเกษตรกรผู้กู้ทั้งหมดจัดทำหนังสือค้ำประกันตามแบบที่ธนาคารกำหนดในฐานะส่วนตัวเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้

                8.2 กรณีวิสาหกิจชุมชน
                                ใช้หลักประกันเงินกู้เป็นไปตามข้อบังคับฉบับที่ 45 (ว่าด้วยสินเชื่อกลุ่มบุคคล)  กรณีใช้หลักประกันบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมขนาดย่อม (บสย
.) ให้ถือใช้ตามบันทึกที่ สพป/76999 ลงวันที่ 23 กันยายน 2558 ยกเว้นกรณี ใช้หลักประกัน คณะกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นผู้ค้ำประกัน กู้ได้ไม่เกิน 3 ล้านบาท ให้แยกต่างหากจากหลักประกันตามสัญญากู้ปกติของธนาคาร    

9. เป้าหมายและระยะเวลาการดำเนินโครงการ
                สหกรณ์ภาคการเกษตร กลุ่มเกษตรกร  และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
                9.1  เป้าหมาย     ดำเนินการในพื้นที่ดำเนินงานของสาขาทั่วประเทศ
                9.2  ระยะเวลาดำเนินการ    ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน  2557  ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2567 

10.  ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามบันทึก
               
- บันทึกด่วนที่ ฝสส/78150 ลงวันที่ 18 กันยายน 2557
               
- บันทึกด่วนที่ ฝสช/36294 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2561




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รับซื้อลดเช็คผลิตผล(อ้อย) และเช็คค่าบำรุงอ้อย(เช็คเกี๊ยว)

โครงการสินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Credit) สำหรับผู้ประกอบการ (นิติบุคคล) และสหกรณ์