โครงการสินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Credit) สำหรับผู้ประกอบการ (นิติบุคคล) และสหกรณ์
โครงการสินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Credit) สำหรับผู้ประกอบการ (นิติบุคคล) และสหกรณ์
Market
Code
2149, 2150 และ 2151
หลักการและเหตุผล
เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้
ผู้ประกอบการ (นิติบุคคล) และสหกรณ์ ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและเป็นการเชื่อมโยงด้านการเงินให้ลูกค้าที่อยู่ห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม
(Value Chain Financing) แบบครบวงจรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่ม
(Value Added) สินค้าเกษตร รวมทั้งเป็นการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศให้มีความเจริญเติบโตและเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
เป้าหมายและระยะเวลาดำเนินโครงการ
1. วงเงินสินเชื่อรวม 1,500 ล้านบาท
2. ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1
เมษายน 2562 และสิ้นสุดการจ่ายเงินกู้วันที่ 31 มีนาคม 2566
พื้นที่ดำเนินโครงการ
ทุกสาขาทั่วประเทศ
คุณสมบัติของผู้กู้
ผู้ประกอบการ (นิติบุคคล)
ที่ขึ้นทะเบียนและขอกู้เงินตามข้อบังคับฉบับที่ 45 หรือสหกรณ์ที่ขึ้นทะเบียนและขอกู้เงินตามข้อบังคับฉบับที่
26 31 หรือ 46 ทั้งนี้
ผู้ขอกู้เงินต้องมีคุณลักษณะและต้องดำเนินการหรือมีเอกสารประกอบ ดังนี้
1. กรณีเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisor)
ต้องผ่านการอบรมจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กระทรวงพาณิชย์ หรือจากส่วนงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2. กรณีเป็นผู้ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์(Franchisee)
ต้องผ่านการอนุมัติได้รับสิทธิ์จากผู้ให้สิทธิ์แฟรนไชส์
(Franchisor) ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว
3.
กรณีเป็นผู้แทนหรือตัวแทนเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์
ต้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิหรือลิขสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจแทนเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์โดยตรง
ซึ่งผู้แทนหรือตัวแทนต้องมีหน้าที่ ดูแล จัดหา ควบคุมกำกับ ผู้ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ให้ดำเนินธุรกิจตามที่กำหนดตลอดจนต้องเป็นผู้ที่แสดงให้ธนาคารเห็นว่ามีศักยภาพและเชื่อมั่นในความสามารถเป็นผู้แทนหรือตัวแทนได้ดี
ดังนั้น ระยะเริ่มต้นโครงการนี้จะสนับสนุนสินเชื่อกรณีที่เป็นผู้แทนหรือตัวแทนเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ได้เฉพาะสหกรณเท่านั้น
วัตถุประสงค์การกู้เงิน
1.
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในกิจการที่เกี่ยวกับแฟรนไชส์ เช่น
ค่าเช่าที่ดินและหรืออาคารเป็นรายเดือน/รายปี ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์รายเดือน
ค่าธรรมเนียมการตลาด ค่าวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงานค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโฆษณา
ค่าขนส่งและค่าบริการ เป็นต้น
2.
เพื่อเป็นค่าลงทุนในกิจการที่เกี่ยวกับแฟรนไชส์ เช่น ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้าพร้อมค่าอุปกรณ์
ค่าลงทุนก่อสร้าง ปรับปรุง ต่อเติม ซ่อมแซมหรือตกแต่งอาคารหรือร้าน เป็นต้น
วงเงินกู้ขั้นสูง
เป็นไปตามแต่ละข้อบังคับของธนาคาร
ระยะเวลาชำระเงินกู้
1.
เงินกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหรือเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ
ให้กำหนดชำระคืนตามที่มาแห่งรายได้ โดยปกติให้ชำระเสร็จภายใน 12 เดือน
นับแต่วันกู้ เว้นแต่มีเหตุพิเศษไม่เกิน 18 เดือน นับแต่วันกู้
2. เงินกู้เพื่อเป็นค่าลงทุนในกิจการ
ให้กำหนดระยะเวลาชำระคืนเป็นงวดรายเดือน หรือรายไตรมาส ตามความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้
โดยให้ชำระหนี้คืนเสร็จไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันกู้
อัตราดอกเบี้ย
อัตรา MLR (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ
5 ต่อปี) ตลอดอายุโครงการและอายุสัญญากู้เงิน
หลักประกันเงินกู้
กำหนดให้ผู้กู้ใช้หลักประกันเงินกู้เป็นไปตามข้อบังคับและวิธีปฏิบัติปกติของธนาคารเป็นลำดับแรก
เว้นแต่ผู้ประกอบการ (นิติบุคคล)
ที่มีเหตุอันควรผ่อนผันให้สามารถใช้หลักประกันเกณฑ์ลดหย่อน ดังนี้
1) กรณีใช้ที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัยหรือที่ตั้งของอาคารหรือร้านค้าที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์จำนองเป็นประกันหนี้
เมื่อรวมกับวงเงินกู้ทุกสัญญาที่ใช้หลักประกันประเภทนี้แล้ว
ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของวงเงินจดทะเบียนจำนอง เว้นแต่
กรณีใช้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง (ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย) หรือที่ดินที่มีการสลักหลังห้ามโอนภายใน
10 ปีจำนองเป็นประกันหนี้ หรือใช้ที่ดิน ส.ป.ก.
หรือที่ดินพร้อมเครื่องจักรเป็นประกันหนี้
ให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติปกติของธนาคาร
2) กรณีใช้บุคคล
2 คนขึ้นไปค้ำประกันเงินกู้
เมื่อรวมกับวงเงินทุกสัญญาที่ใช้หลักประกันประเภทเดียวกันนี้แล้ว ให้กู้ได้ไม่เกิน
300,000 บาท
3)
กรณีที่ใช้หลักประกันเงินฝากและหรือจำนองแล้วไม่เพียงพอและธุรกิจนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขของการค้ำประกันกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
(บสย.) ให้สามารถใช้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อตามโครงการได้และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ปกติของธนาคาร
ตัวอย่างแฟรนไชส์ "โคขุนปิ้งย่าง" สกต.สกลนคร
ประเทศไทยมีเกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อประมาณ
800,000 ราย จำนวนโคเนื้อ 4.4 ล้านตัว โดย
ธ.ก.ส. ได้อำนวยสินเชื่อแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจำนวน 682,529 ราย จำนวนเงิน 81,273 ล้านบาท และยังได้ดูแลเกษตรกรที่มีอาชีพเชื่อมโยงในห่วงโซ่การเลี้ยงโคเนื้อ
ได้แก่ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ ผู้ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และปลูกหญ้าเนเปียร์อีกกว่า 100,000 ราย จำนวนเงินให้สินเชื่อกว่า
10,000 ล้านบาท ในส่วนของการเลี้ยงโคขุนคุณภาพ ธ.ก.ส. ได้อำนวยสินเชื่อแก่เกษตรกรจำนวน 173,588 ราย (เป็นเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย
52,000 ราย) จำนวนสินเชื่อ 17,885 ล้านบาท
เพื่อช่วยเหลือสหกรณ์ผู้ผลิตโคเนื้อคุณภาพและเกษตรกรที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิต ธ.ก.ส.ได้ร่วมกับเครือข่ายเข้าไปพัฒนาศักยภาพเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยที่เลี้ยงโคเนื้อคุณภาพ
การเชื่อมโยงด้านการตลาด เพื่อให้สามารถจำหน่ายเนื้อได้ทั้งชิ้นส่วนหลักและชิ้นส่วนรอง
การจัดทำตราสินค้าโคเนื้อคุณภาพ ( A-Beef)
การเชื่อมโยงสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) เช่น สกต.สกลนคร
จำกัด ให้เป็นจุดรวบรวมกระจายสินค้า (HUB)
และจุดตัดแต่งเนื้อ รวมถึงเป็นผู้แทนการทำแฟรนไชส์ A-Beef
ซึ่งช่วยสร้างอาชีพให้กับผู้มีรายได้น้อยหรือผู้ที่สนใจ ให้มีรายได้เฉลี่ยเดือนละกว่า 30,000 บาท
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น